เมนู

อุปปัชชนัฏฐาน - ที่เป็นที่เกิด ดุจในประโยคว่า กามาวจรจิต อันเป็น
ที่เกิดแห่งสุขเวทนา เป็นต้น. แต่ในที่นี้ย่อมเป็นไปในโกฏฐาสะคือ
ส่วน. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ย่อมเป็นไปในอรรถว่า ปริจเฉทะ
แปลว่ากำหนด ก็มี.

19. อรรถกถาธัมมนานัตตญาณุทเทส


ว่าด้วย ธัมมนานัตตญาณ


คำว่า นวธมฺมววตฺถาเน - ในการกำหนดธรรม 9 ความว่า
ในการกำหนดธรรมทั้งหลายอย่างละ 9 ด้วยสามารถแห่งกามาวจรกุศล-
จิต, ด้วยสามารถแห่งจิตมีความปราโมทย์เป็นมูล, และด้วยสามารถ
แห่งจิตมีมนสิการเป็นมูล.
ก็บรรดาญาณทั้ง 5 เหล่านี้ อัชฌัตตธรรม เป็นธรรมอันพระ-
โยคีบุคคลพึงกำหนดูก่อน. ฉะนั้น ท่านจึงกล่าววัตถุนานัตตญาณ
ญาณในความต่าง ๆ แห่งวัตถุไว้เป็นที่ 1, จากนั้นก็พึงกำหนดอารมณ์
แห่งนานัตตธรรมเหล่านั้น ฉะนั้นในลำดับ ต่อจากนั้นวัตถุนานัตต-
ญาณนั้น ท่านจึงกล่าวโคจรนานัตตญาณ คือญาณในความต่างกันแห่ง
อารมณ์, ญาณอีก 3 อื่นจากนั้น ท่านกล่าวโดยอนุโลมการนับด้วย
สามารถแห่งธรรม 3,4 และ 9.

20. อรรถกถาญาตัฏฐญาณุทเทส


ว่าด้วย ญาตัฏฐญาณ


บัดนี้ ปริญญา 3 คือ การกำหนดรู้นามรูปโดยประเภทนั้นแล
เป็นญาตปริญญา, ต่อจากนั้นก็เป็นตีรณปริญญา, ในลำดับต่อไปก็เป็น
ปหานปริญญา, และภาวนาการเจริญและสัจฉิกิริยาการทำให้แจ้ง ก็
ย่อมมีเพราะเนื่องด้วยปริญญา 3 นั้น, เพราะฉะนั้นท่านจึงยกเอาญาณ
ทั้ง 5 มีญาตัฏฐญาณเป็นต้น ขึ้นแสดงต่อจากธัมมนานัตตญาณ.
ก็ปริญญา 3 คือ ญาตปริญญา, ตีรณปริญญาและปหานปริญญา.
ในปริญญาทั้ง 3 นั้น ดังนี้
ปัญญาอันเป็นไปในการกำหนดลักษณะโดยเฉพาะ ๆ แห่งสภาว-
ธรรมเหล่านั้น ๆ อย่างนี้ว่า รูปมีการแตกดับไปเป็นลักษณะ, เวทนามี
การเสวยอารมณ์เป็นลักษณะ ชื่อว่า ญาตปริญญา.
วิปัสสนาปัญญาอันมีลักษณะเป็นอารมณ์ ยกสามัญลักษณะ
แห่งสภาวธรรมเหล่านั้น ๆ ขึ้นเป็นไปโดยนัยเป็นต้นว่า รูปํ อนิจฺจํ
ทุกฺขํ อนตฺตา
รูปไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา, เวทนา อนิจฺจา
ทุกฺขา อนตฺตา
เวทนาไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาดังนี้ ชื่อว่า
ตีรณปริญญา.